บทความ

การตรวจสอบความปลอดภัยของตู้สินค้าที่ขนส่งทางทะเลของประเทศไทย


ก. มาตรการความปลอดภัยตู้สินค้า (Container Security Initiative : CSI)
นับตั้งแต่เริ่มใช้มาตรการ CSI ในปีพ.ศ.2545 จนถึงปีพ.ศ.2550 มีท่าเรือเข้าร่วมมาตรการ CSI ทั้งสิ้นจำนวน
58 ท่า คิดเป็นร้อยละ 86 ของปริมาณการขนส่งตู้สินค้ามายังสหรัฐอเมริกาทั้งหมด ท่าเรือที่เข้าร่วมมาตรการนี้ ส่วนใหญ่
อยู่ในยุโรป และเอเชีย จำนวน 23 ท่า และ 20 ท่า ตามลำดับที่เหลือเป็นท่าเรือในอเมริกาและแคริเบียน 13 ท่า และ
ท่าเรือในแอฟริกา 2 ท่า
การดำเนินการของแผนงาน CSI แบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ
1. การใช้ข้อมูลการข่าวและระบบคอมพิวเตอร์ ในการระบุและชี้เป้าหมาย ตู้คอนเทนเนอร์ ที่มีความเสี่ยง
2. ตรวจสอบตู้คอนเทนเนอร์ที่มีความเสี่ยงสูงก่อนที่จะเข้าสู่ท่าเรือสหรัฐอเมริกา
3. ใช้เทคโนโลยีเพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการตรวจตู้คอนเทนเนอร์ที่มีความเสี่ยงสูง
4. พัฒนาและส่งเสริมการใช้ตู้คอนเทนเนอร์ที่ทันสมัย และสามารถตรวจสอบติดตามได้
CSI เป็นวิธีการตรวจสอบตู้สินค้าที่มีความเสี่ยงสูงโดยการใช้เครื่อง X-Ray ในการตรวจสอบสินค้า และได้นำ
มาสู่การพัฒนามาตรการ Secure Freight Initiative (SFI) หรือโครงการนำร่องเพื่อทดสอบระบบการสแกนตู้สินค้า เพื่อ
ทดสอบความเป็นไปได้ของการสแกนตู้สินค้า 100% ณ ท่าเรือต่างประเทศก่อน ที่จะเดินทางจากท่าเรือต่าง ๆ มายัง
สหรัฐอเมริกา เป็นการยกระดับมาตรการด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับตู้สินค้าที่มีอยู่แล้ว ผลจากการศึกษาพบว่า ความ
เป็นไปได้ที่จะใช้มาตรการ 100% สแกนให้สำเร็จนั้น ไม่อาจรับรองผลได้ ขั้นตอนของการสแกนตู้สินค้าที่ท่าเรือ ประสบ
ปัญหาหลายประการ ได้แก่ ข้อกังวลเรื่องความปลอดภัย ปัญหาด้านโลจิสติกส์ในการเคลื่อนย้ายตู้สินค้าจากรถไฟ
ขนถ่ายลงเรือ ตลอดจนปัญหาเครื่องมือในการสแกนเสีย และคุณภาพของภาพที่สแกนได้นั้นไม่ชัดเจน ทำให้สหรัฐอเมริกา
ประกาศขยายกำหนดเวลาบังคับใช้กฎหมาย ว่าด้วยการเอกซเรย์หรือการตรวจสแกนตู้คอนเทนเนอร์ทางทะเล ณ ท่าเรือ
ในต่างประเทศทั้งหมดก่อนบรรทุกลงเรือเพื่อมุ่งเข้าสู่เมืองท่าในสหรัฐฯ หรือที่เรียกว่า “U.S. 100% Scanning L egislation”
ออกไปครั้งละ 2 ปี จากเดิมในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555 (ค.ศ.2012) เป็น พ.ศ. 2557(ค.ศ.2014)
และ พ.ศ.2559 (ค.ศ. 2016) แทน ในขณะนี้กลุ่มสมาคมด้านการค้าภายในประเทศสหรัฐอเมริกา จำนวน 70 สมาคม ได้ร่วมกันออกมาเรียก
ร้องยังกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ ให้ยกเลิกมาตรการที่จะให้มีการสแกนตู้สินค้าขาเข้า 100% แทนที่จะขยายระยะ
เวลาบังคับใช้ออกไปครั้งละ 2 ปี ด้วยให้ความเห็นว่ามาตรการดังกล่าวไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงในระบบซัพพลาย
เชน ในขณะที่มาตรการตรวจสอบเฉพาะตู้สินค้าที่มีความเสี่ยง โดยใช้หลักการบริหารความเสี่ยงนั้น ได้รับการยอมรับว่า
มีประสิทธิภาพที่ดี และเป็นวิธีการที่ได้รับการยอมรับจากประเทศคู่ค้าแล้ว นอกจากนี้ ความต้องการที่จะให้มีการสแกน
ตู้สินค้าที่เข้ามายังประเทศสหรัฐอเมริกาแบบ 100% ทำให้เกิดต้นทุนที่สูงมาก และเป็นการยากที่ประเทศคู่ค้าต่าง ๆ จะ
ปฏิบัติได้
ข. มาตรการ 24 Hour Rule มาตรการ 24 Hour Rule กำหนดให้ บริษัทขนส่งสินค้าทางเรือจะต้องแจ้งข้อมูลให้ศุลกากรสหรัฐอเมริกาทราบ
ล่วงหน้า 24 ชั่วโมงก่อนนำสินค้าลงเรือ ในการจัดส่งข้อมูลทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ Automated Manifest
System: AMS เพื่อวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยง และแจ้งผลการตรวจสอบให้ผู้ขนส่งทราบในกรณีที่พบว่าสินค้านั้น
มีความเสี่ยง โดยขอ้ มูลทีบ่ ริษทั ผขู้ นสง่ สินคา้ สง่ แบง่ เปน็ ข้อมูลจากผสู้ ง่ ออก (importers) ก่อนขนถา่ ยสนิ คา้ ลงเรือ ประกอบ
ด้วย 10 หัวข้อหลัก ได้แก่ ชื่อ ที่อยู่ของโรงงานที่ผลิตสินค้า (Manufacturer name and address) ชื่อ ที่อยู่ของผู้ขาย
สินค้า (Seller name and address) ตำแหน่งของตู้คอนเทนเนอร์ที่จัดวางบนเรือ (Container stuffing location)